เกี่ยวกับคณะฯ > ประวัติความเป็นมาของคณะฯ
ข้อมูลการเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์
ประวัติความเป็นมาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสยามเกิดจากกลุ่มแพทย์ที่มีประสบการณ์สูงทั้งด้านการเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์ชั้นนำของประเทศและประสบความสำเร็จอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ท่านเหล่านี้มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนแพทย์ที่มีคุณภาพทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ.2558 การเคลื่อนย้ายผู้ประกอบ วิชาชีพต่างๆโดยเฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างไร้พรมแดน รวมถึงจะมีการเข้ามารับบริการทางการแพทย์ในประเทศมากขึ้น รัฐจึงต้องเตรียมความพร้อมโดยเฉพาะจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ มีความสามารถและเพียงพอที่จะกระจายไปยังภูมิภาคต่างๆของประเทศเพื่อรองรับและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในเร็ววัน มหาวิทยาลัยสยามในฐานะสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาจึงตระหนักถึงการ มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศในด้านการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพสู่สังคมมายาวนาน
การขอเปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
- เตรียมการเพื่อขอเปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวณีย์ รัตนพานี (อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี) และ อาจารย์ สุดจิตร เมืองเกษม (รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลธนบุรี) ขอเปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ตั้งแต่ตุลาคม 2552
- เสนอสภามหาวิทยาลัยสยามขอเปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวณีย์ รัตนพานี และอาจารย์สุดจิตร เมืองเกษม จัดทำกรอบแนวคิด (concept Paper) เพื่อขออนุมัติเปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตต่อสภามหาวิทยาลัยสยาม โดยประสานความความร่วมมือกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิ่มนวล ศรีจาด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยสยาม และได้รับความเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 พร้อมทั้งได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการเปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในการประชุมคราวเดียวกัน “จึงถือว่าวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม”
- แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการเปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
สภามหาวิทยาลัยสยามแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในการประชุมครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 ประกอบด้วย
- ศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์เฉลิม วราวิทย์ ที่ปรึกษา
- รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงยุพิน ไทยพิสุทธิกุล ที่ปรึกษา
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์เกษม เสรีพรเจริญกุล ที่ปรึกษา
- ศาสตราจารย์นายแพทย์วิเชียร ทองแตง ประธานกรรมการ
- รองศาสตราจารย์นายแพทย์ไพโรจน์ อาจแย้มสรวล รองประธานกรรมการ
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์มนูญ ไพบูลย์ กรรมการ
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์วิโรจน์ ไวยวุฒิ กรรมการ
- รองศาสตราจารย์นายแพทย์วิบูล สุนทรพจน์ กรรมการ
- รองศาสตราจารย์นายแพทย์ชัยยศ ธีรผกาวงษ์ กรรมการ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.นิ่มนวล ศรีจาด กรรมการ
- รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงยุวดี เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการและเลขานุการ
- รองศาสตราจารย์ดร.เสาวณีย์ รัตนพานี กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
- คุณสุดจิตร เมืองเกษม กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
คณะกรรมการพิจารณาการเปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มีอำนาจหน้าที่พิจารณา หลักสูตร โดยต้องรักษามาตรฐานทางวิชาการและสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ และเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา แล้วให้คณะดำเนินการเสนอหลักสูตรที่จะเปิดดำเนินการ เพื่อขออนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ตามความในมาตรา 34(6) แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ประกาศ ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553 โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์เกษม วัฒนชัย นายกสภามหาวิทยาลัยสยาม คณะกรรมการพิจารณาการเปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ได้ประชุมนัดแรก ครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2553
3.1 ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
รองศาสตราจารย์ดร.เสาวณีย์ รัตนพานี กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และคณะทำงานร่างหลักสูตร ดำเนินการจัดทำร่างหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2555 ภายใต้คำแนะนำของศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์เฉลิม วราวิทย์
3.2 ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกเพื่อขอเปิดดำเนินการหลักสูตรตามเกณฑ์แพทยสภา
อาจารย์ สุดจิตร เมืองเกษม กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ประสานสร้างความร่วมมือกับโรงพยาบาลต่างๆในการเป็นโรงพยาบาลหลัก สถาบันพี่เลี้ยง และการจัดตั้งมูลนิธิคณะแพทยศาสตร์
สถาบันหลักร่วมผลิตแพทย์: การลงนามในบันทึกข้อตกลง เรื่องความร่วมมือในการผลิตแพทย์
โรงพยาบาลตำรวจกับมหาวิทยาลัยสยาม
ลงนามในบันทึกข้อตกลง เรื่องความร่วมมือในการผลิตแพทย์ระหว่างโรงพยาบาลตำรวจและมหาวิทยาลัยสยาม โดย พลโท นายแพทย์จงเจตน์ อาวเจนพงษ์ แพทย์ใหญ่(สบ 8) โรงพยาบาลตำรวจ กับ ดร.พรชัย มงคลวนิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2553 ต่อมา แพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจแจ้งผ่านที่ประชุมแพทยสภาว่า ไม่สามารถรับนักศึกษาแพทย์ขึ้นไปเรียนชั้นปีที่ 4 ที่โรงพยาบาลตำรวจ ในเดือน พฤษภาคม 2559 (ปีการศึกษา 2559) ได้
กระทรวงสาธารณสุข กับมหาวิทยาลัยสยาม
เนื่องจากนักศึกษาแพทย์รุ่นแรกที่รับเข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ ไม่สามารถไปเรียนชั้นปี่ที่ 4 ที่โรงพยาบาลตำรวจใน เดือนพฤษภาคม 2559 (ปีการศึกษา 2559)ได้ คณะแพทยศาสตร์ จึงได้หารือกับนายแพทย์วิรุฬ พรพัฒน์กุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ณ ขณะนั้น จึงนำไปสู่การทำบันทึกข้อตกลงเรื่องความร่วมมือในการเป็นหน่วยงานฝึกปฏิบัติงานระหว่างมหาวิทยาลัยสยามกับกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2559 โดย ดร.พรชัย มงคลวนิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม กับ นายแพทย์โสภณ เมฑธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงทำให้นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 ได้ไปเรียนและฝึกปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ในเดือนพฤษภาคม 2559 เป็นต้นมา
ต่อมาได้มีการปรับปรุงบันทึกข้อตกลง เรื่องความร่วมมือในการเป็นหน่วยงานฝึกปฏิบัติงานระหว่างมหาวิทยาลัยสยาม กับกระทรวงสาธารณสุข ลงนามโดยพล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข นายกสภามหาวิทยาลัยสยาม กับนายแพทย์โสภณ เมฑธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 ณ ทำเนียบองคมนตรี
สถาบันพี่เลี้ยง
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชูเกียรติ อัศวณิชย์ รักษาการคณบดีคณะแพทยศาสตร์ เข้าพบพลโท นายแพทย์สหชาติ พิพิธกุล เจ้ากรมแพทย์ทหารบก เพื่อขออนุญาตให้ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า เป็นสถาบันพีเลี้ยง ให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
พลโทนายแพทย์สหชาติ พิพิธกุล เจ้ากรมแพทย์ทหารบก ได้ทำบันทึกเสนอ ผู้บัญชาการกองทัพบก(พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) เรื่องขออนุมัติให้ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า เป็นสถาบันพี่เลี้ยง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2553 และได้รับอนุมัติจากกองทัพบก เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2554
- อนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2555
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยสยามอนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต(หลักสูตร ใหม่ พ.ศ.2555)
เมื่อวันที่ 14 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2555
คณะกรรมการแพทยสภาในการประชุมครั้งที่ 7/2555 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2555 ให้การรับรอง
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2555)
แพทยสภามีหนังสือที่ พส 017/777 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2555 แจ้งผลการพิจารณารับรองหลักสูตร แพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2555 ให้เปิดรับนักศึกษาจำนวน 48 คน นับเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งที่ 2 ของประเทศไทยที่ได้รับอนุมัติหลักสูตรจากแพทยสภา
- รับรอง หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร ใหม่ พ.ศ.2555) โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2556
- เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2556 โดยวิธีรับตรง
เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรเมื่อวันที่ 1
พฤษภาคม 2556 แต่คณะแพทยศาสตร์ได้รับเอกสารไม่ทันต่อการเข้าร่วมรับนักศึกษาแพทย์ผ่านระบบของ กสพท. คณะแพทยศาสตร์จึงประกาศรับสมัครบุคคลทั่วไปที่สนใจสมัครเข้าศึกษา ในคณะแพทยศาสตร์รุ่นแรกโดยวิธีรับตรงทั้งหมด 48 คน และเปิดภาคการศึกษาที่ 1 ในเดือนสิงหาคม 2556 ปีการศึกษา 2556 ซึ่งเป็นการเปิด-ปิดภาค การศึกษาตามประเทศอาเซียน และจัดการเรียนการสอน ที่มหาวิทยาลัยสยาม โดยมีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชูเกียรติ อัศวาณิชย์เป็นรักษาการคณบดี และศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์เฉลิม วราวิทย์ และศาสตราจารย์ เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี เป็นที่ปรึกษา
- สำนักงานคณะแพทยศาสตร์
พ.ศ. 2552-2556 คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติงานที่อาคารชิโนรส อาคารอบรมเลขที่ 3 ถนน อิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2556-2557 คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ ย้ายมาปฏิบัติงานที่อาคารบำบัดน้ำเสีย โรงพยาบาล ตำรวจ
พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ ย้ายมาปฏิบัติงานที่ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 19
พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์ จัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ระดับชั้นปรีคลินิก(ชั้นปีที่ 2-3) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 โดยรุ่นแรกเรียนที่ห้อง 19-1403 ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 19
- รักษาการคณบดี/คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
8.1 รองศาสตราจารย์นายแพทย์ชูเกียรติ์ อัศวาณิชย์ ทำหน้าที่ชี้แจงต่อสภามหาวิทยาลัยสยามในการขอเปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับความเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553
8.2 ศาสตราจารย์นายแพทย์อดุลย์ วิริยะเวชกุล คณบดี (ตั้งแต่ 6 กรกฎาคม – 6 ตุลาคม 2553)
8.3 รองศาสตราจารย์นายแพทย์ชูเกียรติ์ อัศวาณิชย์ รักษาการคณบดี
(ตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2553 – 30 กันยายน 2556)
8.4 ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี คณบดี
(ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2556-18 พฤศจิกายน 2562)
8.5 ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ คณบดี
(ตั้งแต่ 19 พฤศจิกายน 2562-ปัจจุบัน)